สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์

CENTER FOR THE PROMOTION OF ART CULTURE AND CREATIVE LANNA,CMU (ACCLCMU)

CMU Lanna Traditional House Open-Air Museum aims to be a learning resource of Lanna's cultural way of life for a sustainable and creative society.

เข้าสู่เว็บไซต์

ปณิธาน
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประสงค์ที่จะเป็นศูนย์กลางที่มีชีวิตชีวาของกิจกรรมทางด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

วิสัยทัศน์
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนากลางแจ้ง เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมล้านนา เพื่อสังคมที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

พันธกิจ
1. ทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และสร้างรากฐานสู่ล้านนาสร้างสรรค์อย่างมีอัตลักษณ์
2. บริการทางวิชาการแก่สังคมและชุมชน เพื่อสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวม
3. บริหารจัดการที่มุ่งเน้นหลักธรรมาภิบาล ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน

ค่านิยม
Creativity "คิดอย่างสร้างสรรค์" คือ การปฏิบัติงานด้วยความคิดเชิงบวก ในมุมมองแห่งความสร้างสรรค์สุนทรียะแห่งศิลปะ วัฒนธรรม ทั้งของท้องถิ่นและชาติ
Passion "รักอย่างลึกซึ้ง" คือ รักในงานอย่างลึกซึ้ง มีความสุขและรักในงานที่ตนทำอย่างลึกซึ้ง รับผิดชอบตอบสนองในการบริการผู้อื่นและผู้ร่วมงาน
Affection "อยู่อย่างชื่นชอบ" คือ อยู่อย่างชื่นชอบ ปฏิบัติงานในองค์กรของตนเองด้วยความยินดี ชื่นชอบ สมานสามัคคี ปกป้องและรักองค์กร
Classic "ดำรงตนอย่างเป็นแบบฉบับ" คือ การประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมและจริยธรรมอันดีงาม ให้เป็นต้นแบบที่ดีของการดำรงตน โดยเฉพาะในเรื่องศิลปวัฒนธรรม

วัฒนธรรมองค์กร
“ประพฤติตนตามค่านิยม CPAC”



สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อนุรักษ์กลุ่มเรือนโบราณล้านนา และจัดแสดงในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา (The Lanna Traditional House Museum) เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าด้านสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตล้านนา และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีเรือนโบราณล้านนา 10 หลัง และยุ้งข้าวล้านนา 4 หลัง ดังนี้


เรือนโบราณล้านนา จำนวน 9 หลัง ประกอบด้วย

1. เรือนทรงอาณานิคม (ลุงคิว)
2. เรือนชาวเวียงเชียงใหม่ (พญาปงลังกา)
3. เรือนกาแล (อุ๊ยผัด)
4. เรือนกาแล (พญาวงศ์)
5. เรือนไทลื้อ (หม่อนตุด)
6. เรือนพื้นถิ่นล้านนา (อุ๊ยแก้ว)
7. เรือนพื้นถิ่นอำเภอแม่แตง
8. เรือนทรงปั้นหยา (อนุสารสุนทร)
9. เรือนฝาไหลของแม่นายคำเที่ยง
10. เรือนเครื่องผูก

ยุ้งข้าวล้านนา (หลองข้าว) จำนวน 4 หลัง ประกอบด้วย

1. ยุ้งข้าวเรือนกาแลพญาวงศ์ (เลาหวัฒน์)
2. ยุ้งข้าวอำเภอป่าซาง (นันทขว้าง)
3. ยุ้งข้าวอำเภอสารภี
4. ยุ้งข้าวเปลือย


ข่าวและผลงานเด่น

End of content

Now viewing : 1 of 6