CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
คณบดีคณะแพทย์ มช. - ผอ.รพ.สวนดอก ยืนยันพร้อมรับมือ โควิด-19 ระลอกใหม่
23 กรกฎาคม 2564
คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ พร้อมเชิญชวนประชาชนที่ลงทะเบียนฯ เข้ารับบริการฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง
ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในช่วงนี้ยังคงน่าเป็นห่วง มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมากในแต่ละวัน ภาพรวมทั่วประเทศ วันที่ผ่านมา (21 ก.ค.64) มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อใหม่ประมาณ 13,000 คน ตัวเลขผู้ป่วย 5 วันที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเกิน 10,000 รายทุกวัน แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัดตามประกาศ ขณะที่ผู้ป่วยสะสมในประเทศมีเกิน 400,000 คนแล้ว อัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยก็สูงประมาณ 100 รายต่อวัน
ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากผ่านวิกฤติช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราคาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ล่าสุดวันนี้ (21 ก.ค.64) พบว่ามีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นถึง 64 ราย หลังจากช่วงกลางเดือนกรกฎาคม เป็นต้นมา แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยใหม่ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บางวันเกินกว่า 70 ราย แม้ว่าจังหวัดเชียงใหม่ขณะนี้ยังไม่ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ความคุมสูงสุดเข้มงวด หรือพื้นที่สีแดงเข้ม แต่ก็อยากให้ประชาชน บุคลากรทางการแพทย์ ภาคส่วนต่างๆ เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมรับมือโควิด-19 ตลอดเวลา
"สำหรับสถานการณ์ ผู้ป่วยโควิดรายใหม่ ที่รับเข้ามารักษาใน รพ.มหาราชฯ วันนี้ (21 ก.ค.64) มี 6 ราย และยังคาดว่าจะมีการส่งต่อผู้ป่วยรายใหม่เข้ามาเรื่อยๆ เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่ มีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามสี ตามอาการ รพ.มหาราชฯ ถูกกำหนดไว้ว่าจะเป็นจุดรับผู้ป่วยหนัก (สีเหลือง ส้ม แดง) ซึ่งทางคณะแพทย์ฯ มีการทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข มาโดยตลอด ขณะนี้ รพ.มหาราช มีการเพิ่มจุดรับผู้ป่วยหนัก มีการเปิดตึกโรคปอด และมีความร่วมมือกับ รพ.ประสาท เชียงใหม่ ซึ่งก็เคยร่วมมือกันดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด ระลอก 3 เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เชื่อมั่นว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้การบริหารจัดการรองรับผู้ป่วยหนักของจังหวัดเชียงใหม่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ เรายังมีการเตรียมการจัดตั้ง รพ.สนาม ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกครั้ง หลังจากที่จัดตั้งมาแล้วเมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ใช้เวลารับมือกับโควิดประมาณ 1 เดือน ก่อนที่จำนวนผู้ป่วยลดลงจนหมดกระทั่งมีการปิดไป หลังจากนี้หากผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก เราก็มีแผนที่จะเปิดรพ.สนาม ขึ้นมาใหม่ทันที ส่วนจะอยู่ที่จุดไหนก็แล้วแต่ความเหมาะสม"
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า คณะแพทย์ฯ มีการวางแผนรับมือการระบาดของโควิดระลอกใหม่ มาอย่างต่อเนื่อง เราเตรียมกันมาตั้งแต่การระบาดระลอก 3 แล้ว ขณะนี้เรามีการตั้งวอร์รูม ประชุมกันในกลุ่มที่เกี่ยวข้องทุกวัน เนื่องจากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ขณะเดียวกันทางจังหวัดฯ ได้มอบหมายให้เราเป็นจุดรับผู้ป่วยหนัก (เหลือง ส้ม แดง)
ที่ผ่านมา ช่วงเดือนเมษายน เราได้เปิดโรงพยาบาลสนาม ที่ หอหญิง 5 มช. เพื่อรองรับผู้ป่วยไม่มีอาการ (สีเขียว) รวมถึงมีการเปิดตึกโรคปอด เปิดห้องไอซียูที่โรงพยาบาลประสาท รวมถึงการจัดพื้นที่บางส่วนของโรงพยาบาลสงฆ์อาพาธ เพื่อรับมือผู้ป่วยระดับกลาง ส่วนนี้เป็นการเตรียมการวางแผน จากประสบการณ์การทำงานของทีมเวิร์คที่ดี เราจึงสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง
"ในส่วนของพันธกิจหลักของคณะแพทย์ฯ มีอยู่ 3 ส่วน คือ การศึกษา การวิจัย และการบริการ เราก็ให้ความสำคัญอยู่ตลอดเวลา ช่วงโควิดส่วนใหญ่จะพูดถึงในการบริการเป็นหลัก ส่วนเรื่องการศึกษา เรามีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบอยู่แล้ว คณะแพทย์ มีการเรียนการสอนที่แตกต่างกับคณะอื่นๆ พอสมควร การเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี ปฏิบัติจะมีการสลับสับเปลี่ยนกันไปตามสถานการณ์ แม้จะต้องมีการเรียนออนไลน์บ้าง แต่ก็ยังมีความเข้มข้นเหมือนเดิม ส่วนนักศึกษาแพทย์ที่มีการเดินทางข้ามจังหวัดพื้นที่ควบคุม หลังจากปิดเทอม กลับมาเรียน ก็มีการปฏิบัติตัวตามขั้นตอนของจังหวัดทั้งหมด ทั้งการกักตัวทุกอย่าง ทางคณะฯ เรายังได้จัดสรรวัคซีนมาให้บุคลากร รวมถึงนักศึกษาได้ฉีดอย่างทั่วถึงด้วย
ส่วนภาคของการวิจัย ทางคณะก็เดินหน้าอย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ไม่ให้โควิดได้กระทบกับพันธกิจหลักของเรา ความร่วมมือกับต่างประเทศก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ มีการงดการเดินทาง เปลี่ยนเป็นความร่วมมือทางออนไลน์ไปก่อน เป็นการทำกลยุทธ์ใหม่ของคณะ เรียกว่าจะนำระบบดิจิตอล เข้ามาปรับใช้เต็มรูปแบบ ทั้งการศึกษา การวิจัย และการบริการ
ด้านผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวว่า ขณะนี้การระบาดของโควิด อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการระบาดในระลอกใหม่ เนื่องจากมีการเริ่มระบาดใหม่จากคนที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ การระบาดครั้งนี้ก็ไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดิมในระลอกที่ 3 จึงอาจจะเรียกว่าเป็นการระบาดในระลอกที่ 4 ก็ได้ แต่จะเป็นระลอกอะไรก็แล้วแต่ เราก็คงต้องทำงานกันอย่างเข้มข้นเต็มที่ต่อไป
สำหรับสายพันธุ์การระบาดในประเทศไทย และในจังหวัดเชียงใหม่ ขณะนี้ นอกจากสายพันธุ์อัลฟา ที่ระบาดมาก่อนแล้ว ยังมีการพูดถึงสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งระบาดไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคุณสมบัติของสายพันธุ์เดลต้า เป็นสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์มีการแพร่กระจายได้ง่าย มีโอกาสติดได้ง่าย ต่อไปนี้คงจะเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของวัคซีนที่เราจะต้องคุยกันต่อไป
ในส่วนของการให้บริการของรพ.มหาราชฯ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวว่า ส่วนของแผนกผู้ป่วยนอก รพ.สวนดอกนั้น แต่ละวันมีผู้ใช้บริการมากถึง 4,500-5,000 คน ยังไม่นับรวมญาติผู้ป่วย คนจึงค่อนข้างแออัด ระยะนี้จึงมีมาตรการมุ่งลดผู้ป่วยลง แต่เพื่อไม่ให้กระทบกับการบริการปกติ รพ. จึงมีการประสานกับผู้ป่วยผ่านทางโทรศัพท์ ในรายที่ไม่วิกฤติ ไม่มีความจำเป็นที่ต้องมารพ. หรือไม่ถึงรอบที่ต้องมาพบแพทย์ แต่ขาดเรื่องยาที่ต้องรักษาต่อเนื่อง เราก็มีการบริการส่งยาให้ทางไปรษณีย์ แล้วค่อยนัดพบแพทย์ทีหลัง ตรงนี้คนไข้ก็สบายใจ โรคก็ได้รับการรักษาต่อเนื่อง แถมลดความแออัดได้ด้วย
ส่วนของญาติผู้ป่วยที่มีความต้องการมาเยี่ยมผู้ป่วยในรพ. ในช่วงโควิดระบาดแบบนี้เราต้องการลดจำนวนคนที่เข้ามาสัญจรในรพ.อย่างยิ่ง จึงขออนุญาตประกาศงดเยี่ยมในตึกผู้ป่วยสามัญ ส่วนวอร์ดพิเศษจำเป็นต้องมีคนเฝ้า ยังอนุญาตให้มีญาติเฝ้าได้ 1 คน และขอให้เป็นคนเดิมไม่มีการเปลี่ยนคนเฝ้าสลับไปมาเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อฯ ส่วนผู้ป่วยวิกฤตินั้นหากจำเป็นจริงๆ ก็ให้เยี่ยมได้ทีละคน ตามมาตรการ Social distancing
อีกประเด็นหนึ่งที่ขออนุญาตชี้แจง คือ ช่วงนี้เราจำเป็นต้องใช้อัตรากำลังของทีมแพทย์ พยาบาลไปรับมือกับสถานการณ์โควิด รวมถึงการทำภาระงานเรื่องการบริการวัคซีนฯ โควิด ซึ่งใช้เจ้าหน้าที่วันละหลายราย จึงต้องมีการประกาศลดการบริการการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนลง จากปกติมีบริการ 21 ห้องต่อวัน เหลือ 14 ห้อง ส่วนที่มีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วนก็ต้องบริการก่อน รายไหนที่ไม่เร่งด่วนก็อาจพิจารณาเลื่อนการบริการออกไปตามความจำเป็น แต่ก็ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบกับผู้ป่วยแน่นอน
ส่วนการบริการผู้ป่วยที่มาจาก 13 จังหวัดสีแดงเข้ม เราก็ไม่ได้ปฏิเสธการให้บริการ แต่จะมีการจัดพื้นที่บริการที่เรียกว่า EID Complex คลินิคตรวจโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ตั้งอยู่ใกล้กับภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว (ริมถนนฝั่งคูเมืองเชียงใหม่) ตรงนี้จะมีบริการสำหรับผู้ป่วยที่มาจากจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูง ไปใช้บริการได้ เพื่อจัดระเบียบจัดกลุ่มไม่ให้เข้ามาแออัดในพื้นที่รพ.มากเกินไป ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในตึกรพ.หลักได้ สำหรับเคสผู้ป่วยอุบัติเหตุ หรือเคสฉุกเฉินต่างๆ ก็จะมีการซักประวัติความเสี่ยง การคัดแยกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง หรือไม่เสี่ยงออกจากกัน โดยที่ห้องฉุกเฉินเรามีห้องตรวจความดันลบ จำนวน 4 ห้อง เพื่อรับรักษาผู้ป่วยรายที่มีความเสี่ยงติดเชื้อฯ ด้วย ซึ่งห้องตรวจความดันลบนี้ เป็นความร่วมมือกันของหลายหน่วยงาน เช่นศิษย์เก่าคณะวิศวฯ มช. กลุ่มผู้มีอุปการะคุณต่างๆ หลายหน่วยงาน เป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์ผู้ป่วยโควิดระลอกใหม่ ที่มีจำนวนผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้นจำนวนมากนั้น ทางโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีความจำเป็นจะต้องเปิดห้อง ICU ความดันลบ เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มเติม ล่าสุดโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ในการจัดเตรียมห้อง ICU ความดันลบอีก จำนวน 10 เตียง
ทั้งนี้เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา หอผู้ป่วยโรคปอด อาคารนิมมานเหมินท์ (รพ.มหาราช) ที่ได้ให้บริการผู้ป่วยโควิด-19 ในรอบที่ 3 มาอย่างต่อเนื่องได้ปิดการให้บริการชั่วคราวเพื่อปรับปรุงห้อง อาทิ ปรับปรุงกล้องวงจรปิด ระบบระบายอากาศ เปลี่ยนไส้กรอง เครื่องกรองอากาศ ประตู ผนัง ฝ้าเพดานที่ชำรุด และตรวจสอบระบบเพื่อความปลอดภัยของบุคลากร จึงได้ย้ายผู้ป่วยไปที่ห้องไอซียูโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จนกระทั่งการปรับปรุงหอผู้ป่วยโรคปอดฯ แล้วเสร็จทาง รพ.มหาราชฯ จึงได้เปิดบริการหอผู้ป่วยหนักทั้ง 2 แห่งขึ้นพร้อมกัน โดยแบ่งอัตรากำลังแพทย์และพยาบาล ออกเป็น 2 ส่วน เพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่อย่างเต็มที่ โดยรวมศักยภาพหอผู้ป่วยโรคปอด รับผู้ป่วยได้จำนวน 11 เตียง รพ.ประสาทเชียงใหม่ รับได้จำนวน 10 เตียง รวม 21 เตียง สำหรับรับผู้ป่วยสีเหลือง สีส้ม และผู้ป่วยสีแดง (ผู้ป่วยอาการวิกฤติ) ตรงนี้สามารถช่วยแบ่งเบาภาระของทางจังหวัดได้อย่างมาก
ล่าสุด เมื่อวานนี้ที่หอผู้ป่วยโรคปอด อาคารนิมมานเหมินท์ มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายแรกเข้ารักษาแล้ว เป็นหญิงตั้งครรภ์ผ่าคลอด ตรวจพบเชื้อด้วยวิธีแรพิดแอนติเจนเทสต์ ผลเป็นบวก จึงผ่าคลอดในห้องผ่าตัดผู้ป่วยโควิด-19 และหลังผ่าตัดได้นำลูกไปห้องสังเกตอาการ ส่วนผู้ป่วยย้ายไปหอผู้ป่วยโรคปอด อาการปลอดภัยทั้งแม่และลูก
ความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนในความดูแลของคณะแพทย์ฯ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ล่าสุด ได้ดำเนินการฉีดไปแล้วประมาณ 43,000 โดส ในส่วนของภาคประชาชน รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งในส่วนของวัคซีนซิโนแวค และแอสตราเซเนกา ขณะนี้ได้ดำเนินการตามที่ประชาชนได้ลงทะเบียนในระบบหมอพร้อมใกล้เสร็จสิ้นแล้ว จากนั้นในเดือนสิงหาคม 64 จะเริ่มดำเนินการบริการให้ผู้ลงทะเบียนในระบบ "ก๋ำแปงเวียง" ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดสรรโควตาของจังหวัด อยากให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการเข้ารับบริการของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เนื่องจากมีศูนย์วัคซีนขนาดใหญ่ ที่สะดวกและปลอดภัย ณ หอประชุม มช. สามารถรองรับได้ถึง 1,600-1,700 คน ต่อวัน เวลาเฉลี่ยของการมารับบริการประมาณ 40 นาที เนื่องจากมีการสังเกตอาการ 30 นาที ถือว่ารวดเร็วมาก มีเจ้าหน้าที่ให้บริการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยตลอด
สำหรับการปรับวัคซีนสูตรใหม่ เห็นชอบโดยกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ให้มีการปรับสูตรวัคซีนใหม่ เพื่อความรวดเร็วในการรองรับสายพันธุ์เดลต้า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลได้ดำเนินการมา 1 สัปดาห์แล้ว และมีประชาชนที่ลงทะเบียนหมอพร้อมไว้แล้วมารับบริการอย่างต่อเนื่อง
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวสาร (COVID-19)
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: