Q&A ใช้ ZOOM อย่างไรให้ปลอดภัย

16 เมษายน 2563

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

ข้อควรรู้การใช้ ZOOM เพื่อความปลอดภัย

  • การป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมหรือการสอน


ในการจัดการประชุม สัมนา หรือการสอนต่าง ๆ หากไม่ต้องการเปิดเผยต่อสาธารณะ ไม่ควรนำ Link เผยแพร่ในที่สาธารณะเช่นบน Social Media ต่าง ๆ ควรส่งเฉพาะภายในกลุ่ม และควรตั้งค่าให้ผู้ใช้ Login เพื่อระบุตัวตน รวมถึงการตั้งค่า Password Meeting เพื่อความปลอดภัย สามารถทำการตั้งค่าได้โดยเข้าไปที่ https://cmu-th.zoom.us/profile/setting เลื่อนลงมาด้านล่างจะพบกับการตั้งค่าดังภาพ


  • การบันทึกการประชุมหรือการสอนอย่างปลอดภัย

ข้อควรสังเกตและพึงระวังเพื่อความปลอดภัยในการบันทึกการประชุมหรือการสอนนั้น เราสามารถเลือกบันทึกเก็บไว้บน Cloud หรือเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราก็ได้ ในกรณีเลือกแบบ Cloud เราจะมีพื้นที่จัดเก็บ 1 GB ควรเข้าไปตั้งค่าที่ https://cmu-th.zoom.us/profile/setting?tab=recording ก่อนและทำการเลือกการตั้งค่า Password ดังภาพ


หลังจากนั้นเมื่อมีการบันทึกการประชุมหรือการสอน เมื่อนำขึ้นสู่ Cloud จะสามารถทำการแชร์ได้ดังภาพ

เมื่อกดที่ปุ่มแชร์ให้ทำการตั้งค่า Password และเลือกเฉพาะผู้ที่ Login เท่านั้นในการเข้าดูบันทึกได้หลังจากนั้นจึงสามารถนำ Link ส่งต่อให้คนที่ต้องการเข้าดูบันทึกการประชุมหรือการสอนย้อนหลังดังภาพ


  • การเปิดใช้งาน Wait Room และไม่เผยแพร่ Personal Meeting ID เพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรใช้ Personal Meeting ID ในจัดประชุมสัมนาสาธารณะเพื่อความปลอดภัย ซึ่งควรใช้เลขสุ่มการประชุมที่ Zoom เตรียมไว้ให้จะปลอดภัยกว่า 


และในการสร้างห้องประชุมทุกครั้ง ควรเปิดใช้งาน Waiting Room เพื่อให้ผู้เข้าร่วมไม่เริ่มการประชุมหรือการเรียนการสอนใด ๆ ไปก่อน Host โดยสามารถเข้าไปตั้งค่าได้ที่ https://cmu-th.zoom.us/profile/setting แล้วเลือกทำการตั้งค่า Waiting Room ดังภาพ


  • การล็อคห้องประชุมหรือการสอนเพื่อไม่ให้มีผู้เข้าร่วมเพิ่มเติม

การประชุม หรือการจัดการเรียนการสอนนั้น เราสามารถดูจำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมหรือผู้เรียนได้จากเมนู Participants ซึ่งเพื่อความปลอดภัยหากไม่ต้องการให้มีผู้เข้าร่วมเพิ่มสามารถกดปุ่ม Lock Meeting ได้ดังภาพ


ข้อควรรู้อื่น ๆ ด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของ ZOOM

  • การเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยของ ZOOM
ข้อมูลภาพ เสียง จากการประชุมทั้งหมดจะถูกเข้ารหัสโดยไม่มีการถอดรหัสระหว่างต้นทางจนถึงปลายทาง ทั้งนี้การเข้ารหัสข้อมูลจะหมายถึงการส่งข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่งโดยเป็นการรักษาความปลอดภัยเพื่อที่จะไม่มีใครสามารถดักจับข้อมูลระหว่างทางได้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://blog.zoom.us/wordpress/2020/04/01/facts-around-zoom-encryption-for-meetings-webinars/


  • การเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้และนโยบายความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน ZOOM

ZOOM มีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานจริง ซึ่งอยู่ใน User Agreement ที่ผู้ใช้งานต้องกดยอมรับตั้งแต่ต้น และก่อนหน้านี้มีข่าวเกี่ยวกับการส่งข้อมูลไปยัง Facebook บนระบบ iOS โดย ZOOM แจ้งว่า ไม่มีนโยบายหรือประกอบธุรกิจในการขายข้อมูลให้ผู้อื่นและได้ทำการ update เพื่อป้องกันการดึงข้อมูลแล้วตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2563
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://blog.zoom.us/wordpress/2020/03/27/zoom-use-of-facebook-sdk-in-ios-client/

ทั้งนี้ ZOOM ได้มีการประกาศ นโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อความสบายใจของการใช้งานดังต่อไปนี้

  1. ZOOM ไม่มีการขายข้อมูลของผู้ใช้งาน
  2. ZOOM ไม่มีการขายข้อมูลผู้ใช้ตั้งแต่อดีต และจะไม่มีในอนาคตเช่นกัน
  3. ZOOM ไม่มีการตรวจสอบหรือ Monitor ข้อมูลการประชุมของผู้ใช้รวมถึงเนื้อหาที่ประชุม
  4. ZOOM ได้ดำเนินการสอดคล้องกับกฏหมายด้านความเป็นส่วนตัว จาก General Data Protection Regulation (GDPR) และ California Consumer Privacy Act (CCPA)


สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://blog.zoom.us/wordpress/2020/03/29/zoom-privacy-policy/

ข้อมูลโดย : ศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ https://tlic.cmu.ac.th/safty_with_zoom/
แกลลอรี่