สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาบริการให้ทันกับการ เปลี่ยนแปลงฉับพลันทางดิจิทัล (digital disruption) การปรับตัวให้สามารถพัฒนาบริการรองรับภาวะวิกฤตในรูปแบบดิจิทัล (digital services)
ผลงานนวัตกรรมโดดเด่นที่ได้ดำเนินการ อาทิ การพัฒนาระบบบริการยืม - คืน ในรูปแบบ Smart Accessibility เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงและยืม-คืนสิ่งพิมพ์อย่างไร้ขีดจำกัดทั้งในอาคาร และนอกอาคารได้ทุกเวลา
(1) การยืมหนังสือตัวเล่มผ่านบริการ e-Services โดยการกรอกแบบขอยืมที่ https://cmu.to/xRXRg ได้ 3 วิธี
(ก) นัดมารับตัวเล่มผ่านช่องทางส่งคำขอยืมหนังสือของห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะ หรือ
(ข) ขอใช้บริการส่งหนังสือทางไปรษณีย์ (Book Delivery) โดยกรอกแบบฟอร์ม
(ค) บริการนำส่งหนังสือ (Document Delivery) ไปยังห้องสมุดคณะภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือนัดรับตัวเล่ม
(2) พัฒนาระบบการยืมออนไลน์ด้วยตนเองผ่าน smart devices ได้ทุกที่ในอาคารห้องสมุด และยืม-คืนด้วยตนเองผ่านระบบยืม-คืนด้วยตนเองในอาคารห้องสมุด (shelf-check) ณ เคาน์เตอร์ยืม-คืน
บริการยืมหนังสือด้วย Smart Device หรือ Online Checkout ด้วย 6 ขั้นตอน
บริการคืนหนังสือด้วยตนเอง Self-Check In
(3) ติดแถบ RFID (Radio Frequency Identification) และจัดซื้อ RFID detector gate ที่ใช้คลื่นวิทยุในการอ่านข้อมูลของหนังสือหรือทรัพยากรอื่นๆ แต่ละเล่ม/รายการที่เป็นเหมือนหมายเลขประจำตัวของหนังสือที่หน้าสุดท้ายทุกเล่ม เพื่อส่งข้อมูลของหนังสือเชื่อมโยงกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการยืมด้วยตนเอง และเมื่อผู้ใช้นำหนังสือออกจากห้องสมุด RFID ดังกล่าวสามารถใช้ในการตรวจสอบหนังสือ ณ ประตูป้องกันหนังสือหาย (RFID detector gate)
(4) Smart Locker สำนักหอสมุดได้พัฒนาการยืม-คืนหนังสือให้ผู้ยืมสามารถรับและคืนหนังสือได้ทุกเวลา ด้วย Smart Locker โดยผู้ใช้สามารถขอยืมผ่านแบบฟอร์มในระบบออนไลน์ และมารับหนังสือ-คืนหนังสือ/ทรัพยากรอื่นๆ ด้วยตนเองได้ทุกเวลา ด้วยรหัสที่ได้รับจากระบบการขอยืม-คืน ได้จาก Smart Locker หน้าอาคารสำนักหอสมุด (สิงหาคม 2565)