ตลาดแรงงานจะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังยุคโควิด19

30 พฤษภาคม 2563

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

ตลาดแรงงานจะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังยุคโควิด19

บทความจาก อาจารย์ ดร.จิรพิพัฒน์ ธัญพงษ์ภัทร

อาจารย์ประจำวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ปัจจุบัน สถานการณ์โรคระบาด COVID 19 ส่งผลกระทบให้ทุกคนจำเป็นต้องปรับตัวกับวิถีการดำเนินชีวิต และวิถีการทำงานแบบใหม่ จากคำพูดเดิม ๆ “รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย” เมื่อเจ้าไวรัสโควิดโผล่มา จึงเป็น “แยกกันเราอยู่ รวมหมู่เราตาย” เนื่องจากต้องมีระยะห่างระหว่างบุคคล (Physical Distancing) การประกอบอาชีพต้องเปลี่ยนไป หรือต้องหาอาชีพใหม่ทำเพื่อความอยู่รอด ซึ่งมีเพียงไม่กี่อาชีพที่เป็นผู้รอดชีวิต เช่น กลุ่มแพทย์และพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูง เป็นผู้เสียสละต้องรักษาผู้ป่วย กลุ่มธุรกิจ E-Commerce มียอดขายมากขึ้นเนื่องจากห้างร้านปิดลง โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความจำเป็น และกลุ่มของ Logistics เช่น พนักงานที่ทำหน้าที่รับส่งสินค้า หรืออาหาร เมื่อต้องมีการ lock down อยู่กับบ้าน หรือ Work from Home ทำให้ต้องมีการพัฒนาระบบหลังบ้าน IT support และ IT developer ทำให้ตลาดแรงงานนี้เป็นที่ต้องการมากขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้งานแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์สูงขึ้นมากอีกด้วย


จะเป็นอย่างไรต่อไปในยุคของการแข่งขัน หลัง COVID 19? วิกฤติ COVID 19 เป็นตัวเร่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด (Disruptive Technology) ทุกอุตสาหกรรมต้องมีการแข่งขันกันมากขึ้น เมื่อเราต้องห่างกัน สังคมจะเปลี่ยนไปเป็นสังคมแบบดิจิทัล สมาร์ทโฟน แอปพลิเคชัน และอินเตอร์เน็ต ถือเป็นปัจจัยที่ 5 ที่มีความจำเป็น ทุกคนต้องสามารถเข้าถึงได้ คนส่วนใหญ่อาจเกิดความหวาดระแวง อยากอยู่กับบ้าน ใช้บริการออนไลน์มากขึ้น การใช้ระบบจดจำใบหน้า (Facial recognition) จะมาแทนที่ระบบสแกนลายนิ้วมือ ออฟฟิศจะกลายเป็น Virtual Office เนื่องจาก WFH แม้กระทั่งการเรียนการจัดสัมมนา อาจจะอยู่ในรูปแบบออนไลน์ หลายอาชีพอาจหายไป แต่บางอาชีพจำเป็นต้องเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นผู้ปฏิวัติในยุคอุตสาหกรรมดิจิทัล


วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงานซึ่งได้มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบูรณาการอุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นหลักสูตรที่มีความร่วมมือ3 ฝ่าย คือสถานประกอบการ วิทยาลัยฯ และนักศึกษาที่ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรม เหล่านี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้เรียนดังนี้


1.หลักสูตรที่ตอบสนองตลาดอุตสาหกรรม เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาพร้อมเข้าทำงานได้จริงไม่ใช่เป็นเพียงเด็กฝึกงาน
2.นักศึกษาผ่านการเรียนแบบบูรณาการระหว่างการเรียนเชิงทฤษฎีในมหาวิทยาลัย และเริ่มปฏิบัติงานจริงในบริษัท มีรายได้ตั้งแต่ ปี 2 ขั้นต่ำเดือนละ 5,000 บาท
3.ผู้เรียนเข้าสมัครเป็นพนักงานบริษัทตั้งแต่เข้าเรียน ไม่ตกงานมีงานทำแน่นอนในอนาคต


และผลประโยชน์ต่อบริษัทที่เข้าร่วมโครงการและร่วมพัฒนานักศึกษาร่วมกับทางวิทยาลัยฯ
1. ได้พนักงานที่ตรงกับความต้องการของบริษัท เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
2.บริษัทมั่นใจได้ว่า จะมีทรัพยากรแรงงานด้านดิจิทัล ที่เพียงพอต่อความต้องการของบริษัท
3. สามารถนำค่าใช้จ่ายในโครงการไปเป็นส่วนลดภาษีได้ 200%


สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ งานประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ TEL.063-5250248 FB:CAMT CMU LINE:@CAMTCMU

แกลลอรี่