CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
เตือนชาวเชียงใหม่การ์ดอย่าตก หลังพบยอดผู้ติดเชื้อRT-PCR และATK พุ่งสูงสุด
14 กุมภาพันธ์ 2565
คณะแพทยศาสตร์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่เตือนชาวเชียงใหม่อย่าการ์ดตก หลังยอดผู้ติดเชื้อ ATK และ RT-PCR ในเชียงใหม่พุ่งสูงสุดมาหลายวัน หวั่นผู้ป่วยหนักเพิ่มกระทบอัตรากำลังแพทย์พยาบาล และธุรกิจเชียงใหม่
ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า “สถานการณ์การระบาดไวรัสโควิด-19 โดยขอประชาชนได้ตระหนักว่า สถานการณ์การระบาดของจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนี้ ถือได้ว่า มีจำนวนผู้ป่วยสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งผลตรวจ RT-PCR ปัจจุบันของจังหวัดเชียงใหม่อยู่ที่ 226 ราย แต่การตรวจของจังหวัดเชียงใหม่ยังมีตัวเลข การตรวจอีกวิธีหนึ่งคือ ATK ซึ่งมีผู้ป่วยที่มีผลเป็นบวกสูงถึง 1,576 ราย
รวมตัวเลขทั้งการตรวจแบบ RT-PCR และ ATK แล้ว สรุปได้ว่าเชียงใหม่มีผู้ป่วยรายใหม่ขณะนี้ มากกว่า 1,800 ราย
และเป็นเช่นนี้มาเป็นเวลาหลายวันแล้ว ซึ่งขอย้ำว่าตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่นี้สูงกว่าทุกระลอกที่ผ่านมา
แม้ว่าจะทราบกันทั่วไปแล้วว่า สายพันธุ์ที่ระบาดขณะนี้ เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงน้อยกว่า และมีเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่อาการหนักน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า แต่หากมีผู้ป่วยจำนวนมาก ย่อมส่งผลสำคัญ 2 ประการคือ
1. เมื่อมีผู้ป่วยมาก จะส่งผลให้บริษัทห้างร้าน ขาดอัตรากำลังในการทำงาน เนื่องจากผู้ที่ทำงานต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา เป็นเวลา 10 วัน ไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อกิจการธุรกิจ และงานบริการ
2. เมื่อมีผู้ป่วยใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ จำนวนผู้ป่วยหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลให้ผู้ป่วยหนักมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการให้บริการทางการแพทย์ และทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีอยู่ เช่นเดียวกับที่เคยขึ้นแล้ว ในระลอกการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าที่ผ่านมา
" จึงขอเรียนย้ำประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงมาตรการการป้องกันการติดเชื้อ การระมัดระวังตัวเองในการใกล้ชิดผู้อื่น การสวมใส่หน้ากากอนามัย ต้องหมั่นล้างมือ และมีสติเสมอ ว่าโรคติดต่อยังคงอยู่รายล้อมทุกๆท่าน " ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าว
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สื่อความรู้ (COVID-19)
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: