CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
ทีมแพทย์และพยาบาล รพ.สวนดอก สนธิกำลังทีมพยาบาลบ้านธรรมปกรณ์ ช่วยผู้สูงอายุติดเชื้อโควิด-19 ทั้งลงพื้นที่ และการรักษาผ่านระบบทางไกล เพื่อเพิ่มศักยภาพการรักษาสูงสุด'
30 ตุลาคม 2564
คณะแพทยศาสตร์
ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวถึงสถานการณ์ การติดเชื้อโควิด-19 ของผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์ ว่า " ในตอนเริ่มต้น ที่ทางโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้รับแจ้งเมื่อวันอังคารที่ 26 ตค. 64 ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ติดเชื้อจากบ้านธรรมปกรณ์เบื้องต้นเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 16 ราย โดยมีอาการน้ำมูก และไอ เราจึงได้ทำการคัดแยกแล้วส่งตรวจ RT-PCR ทั้งหมด พบว่าผลเป็นบวก และเนื่องจากบ้านธรรมปกรณ์ เป็นเขตในการดูแลด้านสุขภาพ และวัคซีนของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ หลังจากนั้นทีมแพทย์จึงได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อทำการประเมินสถานการณ์ รวมถึงสถานที่ พร้อมให้คำแนะนำในการคัดแยก เพราะกรณีมีผู้สูงอายุจำนวน16 รายเจ็บป่วยพร้อมๆกันในลักษณะนี้ ระบบของโรงพยาบาลไม่สามารถมีเตียงรองรับได้เพียงพอ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องการการดูแลเป็นกรณีพิเศษ และต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก ทั้งไม่สามารถอยู่แบบแยก ที่เรียกว่า community isolation ได้ เพราะผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีผู้ดูแล รพ.จึงตัดสินใจดูแลในบ้านธรรมปกรณ์ โดยมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดในผู้ป่วย 16 รายแรก โดยส่งทีมแพทย์และพยาบาลเข้าไปสนธิกำลังกับพยาบาลของบ้านธรรมปกรณ์ เพื่อเริ่มการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ และการติดตามอาการ รวมถึงผู้สูงอายุที่เหลืออีกจำนวน 106 คน ที่ยังไม่ได้รับการตรวจ รวมถึงกลุ่มพี่เลี้ยงหรือผู้ดูแล อีกประมาณ 40 คน ซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจเช่นเดียวกัน โดยดำเนินการใน 2 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 ดำเนินการนำกลุ่มพี่เลี้ยงหรือผู้ดูแลมาตรวจที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ส่วนที่ 2 ได้ขอความร่วมมือไปยังงานระบาดวิทยาและสาธารณสุขจังหวัด โดยเป็นการส่งรถพระราชทานเคลื่อนที่ลงไปทำการตรวจ RT-PCR สำหรับผู้สูงอายุที่ยังคงพักอยู่ในบ้านธรรมปกรณ์ ซึ่งได้คัดแยกไว้
ซึ่งหลังจากดำเนินการดังกล่าวพบว่ามีผู้ป่วย นอกเหนือไปจาก 16 รายนี้แล้ว ยังมีกลุ่มผู้ดูแลอีกจำนวนหนึ่งติดเชื้อด้วย และผู้สูงอายุ อีกจำนวนประมาณ 40 ราย ติดเชื้อเพิ่ม รวมทั้งสิ้น ณ ขณะนี้ มีผู้ติดเชื้อประมาณ 70 ราย
ซึ่งไม่สามารถนำผู้ป่วยเหล่านี้เข้าสู่โรงพยาบาลฯ ทั้งไม่สามารถนำเข้าสู่ community isolation ได้ ด้วยเหตุที่ทั้ง 70 ราย เป็นผู้ที่ได้รับวัคซีน astrazeneca จำนวน 2 เข็มครบแล้วซึ่งทางโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ได้ไปดำเนินการฉีดที่บ้านธรรมปกรณ์เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ถือว่ามีภูมิคุ้มกันในระดับหนึ่ง ซึ่งน่าที่จะสามารถป้องกันการป่วยหนักได้ ทาง รพ.จึงตัดสินใจให้การดูแลในบ้านธรรมปกรณ์ โดยการติดตามอย่างใกล้ชิดโดยใช้ระบบ Telemedicine โดยแพทย์และพยาบาลของ รพ. มหาราชนครเชียงใหม่ ร่วมกับทีมพยาบาลของบ้านธรรมปกรณ์ อย่างใกล้ชิด
สำหรับสถานการณ์ตอนนี้ ได้มีการย้ายผู้ป่วยจำนวน 2 ราย ซึ่งมีโรคประจำตัวและโรคร่วม เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ที่ตึกสงฆ์อาพาธและอาคารโรคปอดนิมมานเหมินทร์ ชุติมา
ส่วนผู้ป่วยที่เหลือยังคงให้การรักษาอยู่ที่บ้านธรรมปกรณ์ โดยในวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้ส่งทีมเอกซเรย์เคลื่อนที่ ไปที่บ้านธรรมปกรณ์ทำการคัดกรองผู้สูงอายุที่มีอาการทั้งหมด เพื่อที่จะประเมินว่ามีภาวะติดเชื้อลงปอดหรือไม่ หากมีการติดเชื้อลงปอดแล้ว ผู้สูงอายุอาการจะเปลี่ยนแปลงเร็ว การเอกซเรย์ปอด จะเป็นเครื่องมือในการหาความเสี่ยงได้
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้เริ่มให้ยาฟาวิพิราเวียร์กับผู้ป่วยกลุ่มนี้แล้ว ซึ่งการเริ่มต้นได้เร็ว จะทำให้ยาออกฤทธิ์เร็ว จะช่วยไม่ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนจากผู้ป่วยสีเหลือง เป็นผู้ป่วยสีส้ม หรือสีแดง
ขณะนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อีกประมาณ 5-6 วันข้างหน้า ก็จะมีการตรวจ RT-PCR รอบที่ 2 ในผู้สูงอายุที่เหลือทั้งหมด เพราะในบางรายสัมผัสแล้วยังไม่ปรากฏเชื้อ บางรายสัมผัสแล้ว ไปปรากฏเชื้อในวันที่ 7 เพราะฉะนั้นการ swap รอบที่ 2 ในคนที่เหลือ จะทำให้ทราบว่ามีคนติดเชื้อเพิ่มอีกหรือไม่
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า " สถานการณ์ ณ ขณะนี้ ยังสามารถควบคุมได้ หากพบว่าท่านใดที่พักรักษา อยู่ที่บ้านธรรมปกรณ์ มีอาการหนัก ก็จะนำส่งมาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อการดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น วันนี้ทาง รพ.ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ทั้งได้แจ้งข่าวสารไปยังคณะทำงานด้านการดูแลรักษาโควิด ของทางจังหวัด โดยมีท่านนายแพทย์สาธารณสุข เป็นประธาน ซึ่งท่านได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
ขอให้ประชาชนทุกท่านไว้วางใจ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เราได้จำกัดวงของการระบาดไว้ในพื้นที่ และส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลแล้ว และจะทำให้ดีที่สุด เพื่อการรักษาให้ได้คุณภาพสูงสุด เพื่อให้ท่านที่พักอยู่ที่บ้านธรรมปกรณ์ ปลอดภัยทุกท่านครับ "
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข่าวสาร (COVID-19)
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: