CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
พิธีเปิดโครงการ Summer School “สร้างความเข้าใจต่อความสัมพันธ์ของชาติพันธ์ุ ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน: ความลื่นไหลของลักษณะข้ามชาติ ความเชื่อมโยงและความร่วมมือในการพัฒนาในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงภายหลังสถานการณ์โรคระบาด”
8 สิงหาคม 2566
คณะสังคมศาสตร์
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.เทพินทร์ พัชรานุรักษ์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ Summer School “สร้างความเข้าใจต่อความสัมพันธ์ของชาติพันธ์ ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน: ความลื่นไหลของลักษณะข้ามชาติ ความเชื่อมโยงและความร่วมมือในการพัฒนาในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงภายหลังสถานการณ์โรคระบาด” ณ ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการ ชั้น 4 คณะสังคมศาสตร์
โครงการ Summer School ดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยยูนนาน ศูนย์ชาติเพื่อการศึกษาพื้นที่ชายแดนและชาติพันธุ์ศึกษาในภูมิภาคจีนตะวันตกเฉียงใต้ ณ มหาวิทยาลัยยูนนาน (NaCBES : National Centre for Borderlands Ethnic Studies in Southwest China) และสถาบันชาติพันธุ์วรรณาและสังคมวิทยา (School of Ethnology and Sociology) โดยได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ในฐานะการศึกษารวมทั้งการวิจัยในตะวันตกเฉียงใต้ของจีนและประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียแปซิกฟิก
โครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิจัยและนักศึกษาได้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิภาค โดยให้คณะจีนศึกษา นักวิจัย และนักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาไปทำวิจัยในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ในหลากหลายด้าน และสรรค์สร้างงานเขียนด้านวิชาการออกมา โดยมีศูนย์ภูมิภาคเพื่อสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมเป็นผู้อำนวยการในโครงการนี้ร่วมกัน
กิจกรรมจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8 – 20 สิงหาคม 2566 ผู้เข้าร่วมโครงการ จะประกอบด้วยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยยูนนาน จำนวน 15 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 7 คน ร่วมวิจัยกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับมหาวิทยาลัยยูนนาน โดยมีการบรรยายในห้องเรียน การลงพื้นที่สนามเก็บข้อมูล การพัฒนากระบวนการวิจัย และการสังเคราะห์ข้อมูลภายใต้คำปรึกษาของคณาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับมอบหมาย โดยมุ่งเน้นการศึกษาแนวคิดชายแดนศึกษาและกลุ่มแนวคิดอื่นร่วม ได้แก่ ชาติพันธุ์และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ข่าวสาร (COVID-19)
ไฟล์แนบ
news66 (4)
jpg
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: