CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
รู้จักฟ้าทะลายโจร ใช้รักษา ไม่ใช้ป้องกันโควิด-19
21 มิถุนายน 2564
คณะแพทยศาสตร์
ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้มาอย่างยาวนาน ในสมัยโบราณจะใช้ในรูปแบบเอาใบมาต้ม แล้วนำน้ำมาดื่ม แต่เนื่องจากว่ามีการศึกษาแล้วก็พบว่า ฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญหลายชนิด แต่ตัวที่มีการศึกษาและมีความสำคัญมากคือ แอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) สารตัวนี้มีผลในการช่วยลดไข้ ต้านการอักเสบและยับยั้งไวรัส จึงถูกนำมาใช้ตั้งแต่ แก้อาการไข้หวัด ลดน้ำมูก ลดไข้ ลดอาการเจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว สิ่งที่สำคัญก็คือ สามารถยับยั้งไวรัสได้ จึงมีความสนใจนำมาใช้ในกรณีของโควิด-19 ที่มีการระบาดอยู่ในขณะนี้
ฟ้าทะลายโจรในท้องตลาดบ้านเราขณะนี้จะมีอยู่ 2 รูปแบบที่หาซื้อได้ รูปแบบที่ 1 คือ ผงยาฟ้าทะลายโจร ขนาดบรรจุขนาด 350 ถึง 500 มิลลิกรัม ชนิดนี้จำเป็นต้องรับประทานปริมาณมาก สำหรับรูปแบบที่ 2 จะเป็นลักษณะของสารสกัดฟ้าทะลายโจร จะมีขนาด 10 ถึง 20 มิลลิกรัม ขนาดรับประทานก็จะน้อยลงกว่ารูปแบบแรก ซึ่งเราควรจะสังเกตฉลากผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง ก่อนรับประทานว่าเป็นรูปแบบใด
เมื่อเริ่มบรรจุนำฟ้าทะลายโจรมาใช้ในการรักษาอาการไข้หวัด พบว่าสามารถยับยั้งไวรัสเมื่อเข้าไปในร่างกายไม่ให้แพร่พันธุ์ได้เร็ว จึงมีการนำมาใช้รักษาอาการโรคโควิด-19 แต่ “ไม่ป้องกัน” การติดเชื้อ
มีการนำเอาสารสกัดแอนโดรกราโฟไลด์มาใช้จริงในผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิค-19 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 ผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่มีอาการ แนะนำให้รับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจรแอนโดรกราโฟไลด์ 60 มิลลิกรัมต่อวัน กลุ่มที่มีอาการน้อยแนะนำให้รับประทานขนาดที่สูงขึ้น 180 มิลลิกรัมต่อวันของสารสกัด
ข้อสำคัญก็คือการใช้สารสกัดแอนโดรกราโฟไลด์เพื่อ ”บรรเทา” อาการต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
สำหรับผลข้างเคียงของการใช้ฟ้าทะลายโจรมีได้ตั้งแต่อาการไม่พึงประสงค์ ไม่รุนแรง จนถึงขั้นรุนแรง เช่น อาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ถ้ามีอาการที่มากขึ้นก็จะมีอาการแพ้ยาที่รุนแรง เช่น อาการหายใจไม่ออก ใจสั่น แน่นหน้าอก ปากบวม ตาบวม หากพบอาการเหล่านี้ต้องหยุดการใช้ฟ้าทะลายโจรทันที
ข้อห้าม และข้อควรระวังที่ใช้โดยหลักสำคัญก็คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและต้องใช้ยาเป็นประจำ ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้ถ้ารับประทานยาฟ้าทะลายโจรร่วมไปด้วย อาจจะเกิดอันตรกิริยากับยาที่ทานเป็นประจำได้
การศึกษาในหลอดทดลองพบชัดเจนว่า ตัวฟ้าทะลายโจรและสารสกัดแอนโดรกราโฟไลด์ ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งเชื้อยังสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นวิธีการที่ป้องกันได้ดีที่สุดสำหรับโรคโควิด-19 ก็คือ 1 ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน 2 ป้องกันตามมาตรฐานที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน เช่น ใส่แมส ล้างมือ Social distancing ไม่ใช่การรับประทานฟ้าทะลายโจร
ข้อมูลโดย ผศ.พญ.สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ
รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ และหัวหน้าศูนย์การแพทย์แผนไทย และ การแพทย์ผสมผสาน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คุณณพรรษกรณ์ คงภาษี แพทย์แผนไทย ศูนย์การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ผสมผสาน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ติดตามได้ที่ Youtube : https://bit.ly/3cXS3Yn
#ฟ้าทะลายโจรไม่ใช้ป้องกันโควิด19
#MedCMU
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#COVID19
#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สื่อความรู้ (COVID-19)
สุขภาพ
ข่าวสาร (COVID-19)
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: