CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
วัคซีนโควิด-19 กับอาการทางระบบประสาท
1 มิถุนายน 2564
คณะแพทยศาสตร์
“วัคซีนโควิด-19 กับอาการทางระบบประสาท”
โดย อ.นพ.กิตติ เทียนขาว
อาจารย์หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
+++อาการความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นภายหลังฉีดวัคซีน+++
ในความเป็นจริงการฉีดวัคซีน แล้วส่งผลกระทบต่อระบบประสาท มีมาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ใช่เฉพาะวัคซีนโควิด-19 หรือว่าวัคซีนยี่ห้อ Sinovac ที่ประชาชนกำลังให้ความสนใจกันขณะนี้
มีรายงานการเกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อ Sinovac เกิดขึ้นจริง หากย้อนกลับไปดูข้อมูลทางการแพทย์ของวัคซีนที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ อย่างเช่นการศึกษาของ Brazil ได้รายงานว่ามีประชากรอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่มีอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันชั่วคราว อยู่ที่ประมาณ 1-2 ราย ต่อ 6,000 รายที่ได้รับวัคซีน
+++พบบ่อยแค่ไหนในประชากรไทย+++
เมื่อกลับมาสังเกตอาการจากการฉีดวัคซีนในกลุ่มประชากรไทย จากข้อมูลเบื้องต้นจากทางศูนย์ต่างฯทั้งหมดในประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พ.ค. 2564) พบว่าในคนไทยหลังการฉีดวัคซีนก็มีอุบัติการณ์การเกิดประมาณ 0.3 เปอร์เซ็นต์ คือจะเกิดขึ้นประมาณ 3 ราย ใน1,000 ราย
ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการ แล้วนำผู้ป่วยมาตรวจเพิ่มเติม ทั้งตอนที่มีอาการ และตอนที่หลังจากเกิดอาการไปแล้ว น้อยมากที่มีความผิดปกติ ส่วนใหญ่ตรวจพบว่าเป็นปกติ ดังนั้นจึงสงสัยว่ากลไกการเกิดอาจไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต เหมือนในผู้สูงอายุที่เป็นกัน
สำหรับอาการของความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นความผิดปกติเรื่องการรับความรู้สึกหรือว่าเป็นอาการชาเป็นหลัก พบได้ประมาณ 60 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ซึ่งอาการชาเหล่านี้ จะพบได้บริเวณที่ใบหน้า มุมปาก หรือชาครึ่งซีกตามแขน ขา รองลงมาจะมีอาการทางระบบประสาทอื่นๆ เช่นปวดศีรษะ อาการอ่อนแรง หรือว่ามีส่วนน้อยที่พบคือมีอาการมองเห็นผิดปกติ ส่วนใหญ่ที่พบจะเกิดกับในผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิง มีช่วงอายุประมาณ 20 ถึง 50 ปี ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเท่าที่สังเกตมาอยู่ในช่วงประมาณ 6 ชั่วโมงแรกหลังฉีดวัคซีน อาจมีบางรายที่เกิดขึ้นได้ภายในช่วง 24 ชั่วโมงหรือ 1 วัน ส่วนใหญ่ที่เกิดมักจะหายได้เอง และค่อยๆดีขึ้น อาจจะใช้เวลา 1 ถึง 3 วัน หรือว่าในบางรายอาจจะนานเป็นสัปดาห์และส่วนใหญ่มักจะกลับมาเป็นปกติได้
+++การปฎิบัติตัวก่อนรับวัคซีน+++
ควรจะพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ หลังรับวัคซีนในช่วงแรกจะทำตามมาตรฐาน คือสังเกตอาการภายใน 30 นาที เพื่อสังเกตอาการว่ามีอาการแพ้รุนแรงที่จะเกิดขึ้นในระยะแรกไหม หลังฉีดไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมง หรือ 1 วันก็ยังต้องสังเกตอาการความผิดปกติเหล่านี้อยู่ หากเกิดอาการผิดปกติ แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อที่ประเมินอาการ
+++แนวทางการรักษาและการพยากรณ์โรค+++
จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่มีอาการน้อยและกลุ่มที่มีอาการมาก โดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการน้อย แบบมีอาการชาแบบไม่เฉพาะเจาะจง หรือมีอาการอาการปวดศีรษะแบบทั่วไปที่มักจะหายได้เองภายใน 72 ชั่วโมง โดยจะทำการรักษากลุ่มนี้ตามอาการมากกว่า
สำหรับอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนแล้วมีหลายอาการพร้อมกัน เช่น มีทั้งอาการชา อ่อนแรง ปวดศีรษะรุนแรง อาจจะต้องมีการประเมินอย่างละเอียด การตรวจเพิ่มเติมด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อดูรอยโรคว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบจริงหรือไม่ ซึ่งอาจจะมีผลต่อการวางแผนให้วัคซีน
+++สำหรับวัคซีนเข็มที่ 2++++
แพทย์จะทำการตรวจอาการของผู้ป่วยเป็นหลักว่าผู้ป่วยที่เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทนั้นเป็นกลุ่มไหน ในกลุ่มที่ไม่รุนแรงให้ยึดตามคำแนะนำของสมาคมวิชาชีพ ที่เราใช้ในปัจจุบัน ก็คือสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทยและสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย แนะนำว่ากลุ่มนี้สามารถให้วัคซีนเข็มที่ 2 ได้ แต่หากเป็นอีกกลุ่มหนึ่งต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมให้แน่ชัดว่า สาเหตุของการเกิดอาการนั้น เกิดจากสาเหตุอะไรและผู้ป่วยควรได้รับวัคซีนอย่างเหมาะสมหรือไหม ซึ่งถ้ามีอาการอ่อนแรงค่อนข้างมาก ตามคำแนะนำของสมาคมฯ ยังให้แนะนำเลี่ยงเข็มที่ 2 ไปก่อน
การให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด ในบางรายงานพบว่าโรคโควิด-19 เอง สามารถเป็นผลทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ ประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์
ดังนั้นเมื่อเทียบตัวเลขของการเกิดความผิดปกติทางระบบประสาทภายหลังการฉีดวัคซีน ที่มีข้อมูลอยู่ ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณ 0.2 ถึง 0.3 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขก็ยังค่อนข้างน้อยกว่าการเกิดโรคสมอง จากโรคโควิด -19 ตรงนี้จะเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจว่าเราสามารถรับวัคซีนตัวไหนได้
??ติดตามได้ที่ : https://fb.watch/5JrPD9neGi/
#วัคซีนโควิด19
#MedCMU
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรสวนดอก
#COVID19
#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สื่อความรู้ (COVID-19)
สุขภาพ
ข่าวสาร (COVID-19)
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: