สำนักงานบริหารและจัดการทรัพย์สิน

University Property and Asset Management Office

สำนักงานบริหารและจัดการทรัพย์สิน เป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีการบริหารงานที่เป็นอิสระ เน้นความคล่องตัวมีประสิทธิภาพและพึ่งพาตนเองได้ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารและจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย เพื่อแสวงหารายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยในลักษณะต่างๆ และงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

เข้าสู่เว็บไซต์

น้ำดื่มตราอ่างแก้ว

ให้บริการจำหน่ายน้ำดื่มตราอ่างแก้ว 5 ประเภท ดังนี้
1. น้ำดื่มบรรจุขวด ขนาด 350 มิลลิลิตร (12 ขวด) ราคาโหลละ 40 บาท
2. น้ำดื่มบรรจุขวด ขนาด 600 มิลลิลิตร (12 ขวด) ราคาโหลละ 45 บาท
3. น้ำดื่มบรรจุขวด ขนาด 1500 มิลลิลิตร (6 ขวด) ราคาแพ็คละ 45 บาท
4. น้ำดื่มบรรจุขวด ขนาด 6 ลิตร ราคาขวดละ 35 บาท
5. น้ำดื่มบรรจุถัง ขนาด 20 ลิตรราคาถังละ 22 บาท

พื้นที่จอดรถข่วงพะยอม

ขนาดพื้นที่ 11,245 ตร.ม จอดรถได้รวม 347 คัน โดยมีอัตราค่าบริการ ดังนี้
1. นักศึกษาและบุคลากร 3 ชั่วโมงแรก คิดค่าบำรุง 10 บาท ชั่วโมงถัดไปชั่วโมงละ 10 บาท (เศษของชั่วโมงคิดเป็น 1 ชั่วโมง)
2. บุคคลทั่วไป คิดค่าบำรุง ชั่วโมงละ 10 บาท (เศษของชั่วโมงคิดเป็น 1 ชั่วโมง)

เรือนอ่างแก้ว

ให้บริการห้องพักและห้องประชุม เพื่อรับรองแขกผู้มาเยือนมหาวิทยาลัย ศิษย์เก่า รวมถึงบุคลากรทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการ ตลอดจนเพื่อพัฒนาและเพิ่มทักษะในการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาที่สามารถฝึกทักษะในด้านภาษา การท่องเที่ยว และการโรงแรม ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้จากห้องเรียนมาฝึกปฏิบัติจริงได้
ประกอบไปด้วย
1. เรือนประชุม รองรับได้ประมาณ 50 คน
2. ห้องพัก 30 ห้อง รองรับได้ประมาณ 60 คน
3. ร้านกาแฟ รองรับได้ประมาณ 20 คน
4. ลานกิจกรรม รองรับได้ประมาณ 100 คน

ศูนย์อาหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (กินในมอ)

ศูนย์อาหารฯ ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของมหาวิทยาลัย รูปแบบของอาคารมีความทันสมัย มีการจัดการอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์รวมสถานที่จำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ให้นักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไป เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 07.00 น. - 21.00 น.

หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประกอบด้วย
1. ห้องประชุมใหญ่ พื้นที่: 1,536 ตารางเมตร, ความจุสูงสุด: 3,500 คน, ขนาดเวที: กว้าง 15 เมตร ลึก 8 เมตร
2. ห้องประชุมเล็ก พื้นที่: 350 ตารางเมตร, ความจุสูงสุด: 300 คน, ขนาดเวที: กว้าง 8 เมตร ลึก 6.5 เมตร
3. ศาลาไทย พื้นที่: 288 ตารางเมตร, ความจุสูงสุด: 70 คน

อาคารจอดรถถนนสุเทพ S1

เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 6.00 น. ถึงเวลา 22.00 น. โดยมีอัตราค่าบริการ ดังนี้
1. บุคคลภายนอก คิดค่าบำรุง ชั่วโมงละ 10 บาท เศษของชั่วโมงคิดเป็นหนึ่งชั่วโมง
2. ลูกค้าผู้มาใช้บริการ ได้แก่ ลูกค้าที่มาใช้บริการร้านค้าต่างๆ 4 ชั่วโมงแรก ฟรี (เฉพาะลูกค้า ประทับตราร้านค้าและสถาบันการเงินภายใน) ชั่วโมงที่ 4-5 คิดค่าบำรุง 50 บาท ชั่วโมงถัดไป คิดค่าบำรุงชั่วโมงละ 10 บาท เศษของชั่วโมงคิดเป็นหนึ่งชั่วโมง
3. บุคลากรภายใน ได้แก่ บุคลากร อาจารย์ และนักศึกษ 4 ชั่วโมงแรก ฟรี ชั่วโมงที่ 4 ถึง ชั่วโมงที่ 12 คิดค่าบำรุง 20 บาท ชั่วโมงถัดไป คิดค่าบำรุง ชั่วโมงละ 10 บาท เศษของชั่วโมงคิดเป็นหนึ่งชั่วโมง

กองทุนพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บริหารจัดการกองทุนพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนฯ

ลานจอดรถอุทยานการศึกษาและบริการวิชาการ

More Space โครงการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นลานเชิงวัฒนธรรมและสร้างสรรค์ (Cultural and Creative Market) โดยมีวัตถุประสงค์ในการสืบสานวัฒนธรรม อาหารล้านนา อาหารประจำถิ่น อาหารปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งส่งเสริมงานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาและบัณฑิตในการประกอบอาชีพธุรกิจ Start up และ SME ตลอดจนการจัดให้มีลานกิจกรรมสำหรับนักศึกษาแสดงผลงานเชิงวัฒนธรรมและสร้างสรรค์

ศูนย์บริการนักศึกษา

อาคารศูนย์บริการนักศึกษา ที่ตั้งของสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจำหน่ายเครื่องหมาย เครื่องแบบนักศึกษา ถูกต้องตามระเบียบและลิขสิทธิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงร้านรับขนส่งสินค้าแบบครบวงจร และร้านบริการเครื่องดื่ม ชา กาแฟ สำหรับให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากร

ศูนย์สุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์สุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Health Center) เป็นอาคาร 3 ชั้น พื้นที่ทั้งหมด 5,636.78 ตร.ม. เพื่อรองรับการขยายตัวต่อการพัฒนมหาวิทยาลัย โดยออกแบบการใช้ประโยชน์จากพื้นที่เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันในหลากหลายส่วนงาน ในด้านการให้บริการสุขภาพและบริการทางการแพทย์ ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เช่น คลินิกทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ บริการทางเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ ร้านจำหน่ายยา คณะเภสัชศาสตร์ คลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ รวมถึงพื้นที่ Co - Working Space เพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ และส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา

ตลาดร่มสัก (กาดฝายหิน)

ประมาณปี 2518–2519 ผู้พักอาศัยในหมู่บ้านร่มสัก ได้จัดตั้งตลาดขึ้นบริเวณลานเอนกประสงค์หน้าหมู่บ้าน พื้นที่ประมาณ 1,600 ตารางเมตร เรียกกันว่า “ตลาดร่มสัก” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ประกอบการขายอาหาร ต่อมาในปี 2542 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดสรรงบประมาณ โดยก่อสร้างอาคารถาวรและจัดสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐาน กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อการพัฒนาตลาดให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรวมอาหารและเครื่องดื่มที่ถูกสุขลักษณะ ราคาย่อมเยาแก่นักศึกษาและบุคลากร