สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดบริการครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2507 โดยใช้ห้องเลขที่ 312 ตึกเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้สร้างอาคารห้องสมุดชั้นเดียวเป็นเอกเทศ ต่อมานักศึกษาเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับไม่สามารถขยายอาคารได้ จึงได้รับอนุมัติสร้างเป็นอาคารปัจจุบัน ซึ่งมี 5 ชั้น มีเนื้อที่ 8,430 ตารางเมตร ทำการก่อสร้างเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2522 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารสำนักหอสมุด เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ต่อมาใน พ.ศ. 2540 ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างขยายพื้นที่อาคารห้องสมุดกลางทางด้านทิศใต้ มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 15,768 ตารางเมตร และเริ่มให้บริการในปีการศึกษา 2544 ปัจจุบันมีที่นั่งอ่าน 1,230 ที่นั่ง
สำนักหอสมุด ประกอบด้วย ห้องสมุดกลาง และห้องสมุดคณะต่างๆ รวมทั้งสิ้น 19 คณะ แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 7 ฝ่าย และ 1 สำนักงาน คือ
- ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
- ฝ่ายบริการและส่งเสริมการเรียนรู้
- ฝ่ายสารสนเทศล้านนาและภาคเหนือ
- ฝ่ายเทคโลยีสารสนเทศห้องสมุด
- ฝ่ายห้องสมุดสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ฝ่ายห้องสมุดสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- ฝ่ายห้องสมุดสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- สำนักงานสำนัก
วิสัยทัศน์ (2566 - 2570)
ประตูการเรียนรู้ชั้นนําเพื่อสนับสนุนการศึกษา การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อชุมชนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสังคม
(Leading learning gateway facilitating education, research and innovation for CMU community and society)
พันธกิจ
1. จัดการและบริการทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีมาตรฐานเพื่อสนับสนุนการศึกษา การวิจัยและนวัตกรรม บริการทางวิชาการของมหาวิทยาลัย และสังคม
2. สนับสนุนการทํานุบํารุงและสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนาด้านข้อมูลภายใต้ขอบเขตและพันธกิจของสํานักหอสมุด รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
SO1 สร้างคุณค่า อนุรักษ์และสงวนรักษาทรัพยากร สารสนเทศในรูปดิจิทัลเพื่อการเข้าถึงและแบ่งปัน
กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศโดย ทํางานเชิงบูรณาการกับส่วนงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อการเข้าถึงและแบ่งปัน
กลยุทธ์ที่ 2 : อนุรักษ์และสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ ดิจิทัลอย่างมีมาตรฐานสากล
SO2 พัฒนาบริการดิจิทัลและส่งเสริมให้เกิดการใช้ เพื่อการศึกษาและการวิจัยที่ยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนานวัตกรรมบริการมุ่งสู่บริการดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการวิจัย
กลยุทธ์ที่ 2 : ส่งเสริมการรู้สารสนเทศ (Information literacy) และยกระดับการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ตลอดชีวิต
SO3 บริหารจัดการองค์กรเพื่อการดําเนินงานที่เป็นเลิศ
กลยุทธ์ที่ 1 เพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการองค์กร
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาพื่นที่ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่รองรับบริการดิจิทัล
Now viewing : 1 of 33