สำนักหอสมุด

Chiang Mai University Library

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานสนับสนุนบริการวิชาการ ทำหน้าที่ให้บริการ จัดหา รวบรวม อนุรักษ์และบำรุงรักษา และเผยแพร่หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน และการค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เข้าสู่เว็บไซต์

การรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ

รับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากหน่วยงาน องค์กร สมาคม บุคคล ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่ไม่มีจำหน่ายทั่วไป ไม่สามารถหาซื้อได้ มีการผลิตจำนวนจำกัด รับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่มีเงื่อนไขในการนำออกให้บริการ  

ฐานข้อมูลสูจิบัตรพิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ฐานข้อมูลสูจิบัตรพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมสูจิบัตรพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ ครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน สูจิบัตร ครั้งที่ 1 – 48 ได้ทำการแปลงผันจากเอกสารต้นฉบับเป็นไฟล์ pdf ผู้สนใจสามารถเปิดอ่านได้ผ่านเว็บไซต์ และสูจิบัตรครั้งที่ 49 จนถึงปัจจุบัน ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด และสืบค้นชื่อผู้เข้ารับการพระราชทานปริญญาบัตรได้  

CMU e-Theses

ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าแบบอิสระของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี 2519-ปัจจุบัน โดยการแปลงผันวิทยานิพนธ์ให้อยู่ในรูปเอกสารดิจิทัลฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในปี 2556 สำนักหอสมุด ได้พัฒนาช่องทางการเข้าถึงฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าแบบอิสระอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์ Smart Device โดบสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น CMU e-Theses บนอุปกรณ์สื่อสาร เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล 

บริการแนะนำวารสารเพื่อการตีพิมพ์ผลงานวิชาการระดับนานาชาติ

แนะนำวารสารเพื่อการตีพิมพ์ผลงานวิชาการทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยการค้นหาข้อมูลจาก Web of Science, Scopus และฐานข้อมูลต่างๆ หรือค้นจาก TCI (กรณีที่ต้องการวารสารระดับชาติ) ผู้ใช้บริการสามารถส่งคำขอผ่านเว็บไซต์ และรอรับข้อมูลทางอีเมลภายใน 1 สัปดาห์ โดยผู้ใช้จะได้รับรายชื่อวารสารแนะนำ 5 อันดับ พร้อมค่า Impact Factor, CiteScore, Qualtie หรือ Tier (กรณีที่ต้องการวารสารระดับชาติ) สำหรับเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกตีพิมพ์ผลงานวิชาการของท่านต่อไป 

บริการยืมระหว่างห้องสมุด

1. บริการจัดหาเอกสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มที่ไม่มีให้บริการในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากห้องสมุดเครือข่ายในต่างประเทศทั่วโลกที่ใช้แพลตฟอร์มการสืบค้นจากบริษัท OCLC ส่งคำขอเอกสารได้ที่ระบบสืบค้น Single Search: WorldCat ที่หน้าเว็บไซต์ห้องสมุด โดยสำนักหอสมุดจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกท่าน โดยมีเงื่อนไขการให้บริการ คือ
1) ให้บริการเฉพาะเอกสารประเภท Article/Chapter ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ฟรีไม่จำกัดจำนวน
2) สามารถยืมหนังสือจากห้องสมุดที่มีความร่วมมือในประเทศไทยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย คือ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3) ไม่ครอบคลุมการยืมหนังสือประเภท Print Book/e-Book จากห้องสมุดในต่างประเทศ (มีค่าใช้จ่าย)
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ cmuworldshare@gmail.com

2. บริการยืมระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย หรือ Interlibrary Loan (ILL)

      เป็นบริการสำหรับกรณีที่ไม่มีหนังสือ วารสาร ที่ต้องการในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประสงค์ให้ห้องสมุดดำเนินการยืมหรือสำเนาเอกสารจากห้องสมุดอื่นในประเทศไทย โดยมีการจัดส่งทางไปรษณีย์ หรือสมาชิกสามารถเดินทางไปยืม-คืนด้วยตนเองจากห้องสมุดในเครือข่ายความร่วมมือได้ ซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ ได้แก่ หนังสือ ตำรา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความในวารสารหรือในหนังสือ โดยผู้ใช้ต้องชำระค่าบริการตามเงื่อนไขของแต่ละสถาบัน ติดต่อขอรับบริการได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1

บริการสมาชิกห้องสมุด

การสมัครสมาชิกห้องสมุด สำนักหอสมุดได้เปิดรับสมัครสมาชิกห้องสมุด โดยจัดแบ่งประเภท ดังนี้ สำหรับอาจารย์ นักวิจัย บุคคลภายนอก และศิษย์เก่า 

บริการสนับสนุนการวิจัย

บริการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจตีพิมพ์ผลงานวิชาการ บริการบรรณารักษ์พบนักวิจัย และบริการแนะนำวารสารเพื่อการตีพิมพ์ผลงานวิชาการระดับนานาชาติ 

บริการผู้เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน

บริการผู้เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน  กรุณาติดต่อสำนักงานเลขานุการ (โทร. 053-94-4506) เพื่อนัดหมายล่วงหน้า (ไม่มีค่าใช้จ่าย) 

บริการยืม-คืนทรัพยากร

สมาชิกห้องสมุดสามารถยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดทุกแห่งในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้

CMU e-Research

ฐานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมงานวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้อยู่ในรูปดิจิทัล เผยแพร่แก่ผู้สนใจผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในปี 2556 สำนักหอสมุด ได้พัฒนาช่องทางการเข้าถึงฐานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์ Smart Device โดบสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น CMU e-Research บนอุปกรณ์สื่อสาร เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล 

CMU Digital Heritage Collection

ฐานข้อมูล CMUL Digital Heritage Collection เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม จากเอกสารมรดกที่มีคุณค่าซึ่งแสดงผลในรูปเอกสารฉบับเต็มจำนวนกว่า 800 รายการ ประกอบด้วย พับสา ใบลาน และสมุดข่อย ที่มีการดำเนินงานทุกขั้นตอนอย่างมีมาตรฐานในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากเอกสารมรดกที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้แก่มวลมนุษยชาติได้ศึกษาอย่างกว้างขวางผ่านเว็บไซต์ 

บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า

บริการช่วยการค้นคว้าและวิจัย สนับสนุนการวิจัย  บริการ Journal Selector  และบริการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ